เมนู

พระสารีบุตรยังที่อยู่ กราบท่านพระสารีบุตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงเรียนท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าท่าน
พระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าและสั่งมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาส
เหมาะแล้ว ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของ
อนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล
ท่านพระสารีบุตรนั่งสบงทรงบาตรจีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ
เข้าไปยังนิเวศน์ชองอนาถบิณฑิกคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้
[722] พอนั่งเรียบรอยแล้ว จึงกล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีดังนี้ว่า
ดูก่อนคฤหบดี ท่านพอทน พอเป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กำเริบ
ปรากฏความทุเลาเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความกำเริบละหรือ.
อ. ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ กระผมทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว
ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด
ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.

ความเป็นไปแห่งอาพาธ


[723] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณกระทบขม่อม
ของกระผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกำลังเอาของแหลมคมทิ่มขม่อมฉะนั้น กระผม
จึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา
ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.
[724] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณเวียนศีรษะ
กระผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกำลังขันศีรษะด้วยชะเนาะมั่นฉะนั้น กระผมจึงทน

ไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏ
มีความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.
[725] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณปั่นป่วนท้อง
ของกระผมอยู่ เหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ฉลาดเอามีดแล่โคอัน
คมคว้านท้อง ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของ
กระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความ
ทุเลาเลย.
[726] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ความร้อนในกายของกระผม
เหลือประมาณ เหมือนบุรุษมีกำลัง 2 คน จับบุรุษมีกำลังน้อยกว่าที่อวัยวะ
ป้องกัน ตัวต่าง ๆ แล้ว นาบ ย่าง ในหลุมถ่านเพลิง ฉะนั้น กระผมจึงทน
ไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏ
ความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.
[727] สา. ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุ และวิญญาณที่อาศัยจักษุจักไม่มีแก่เรา.
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสต และวิญญาณที่อาศัยโสต
จักไม่มีแก่เรา.
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานะ และวิญญาณที่อาศัย
ฆานะจักไม่มีแก่เรา.
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหา และวิญญาณที่อาศัย
ชิวหาจักไม่มีแก่เรา.
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกาย และวิญญาณที่อาศัยกาย
จักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโน และวิญญาณที่อาศัยมโน
จักไม่มีแก่เรา.
ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด.

ว่าด้วยพาหิรายตนะ


[728] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
เราจักไม่ยึดมั่นรูป และวิญญาณที่อาศัยรูปจักไม่มีแก่เรา.
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเสียง และวิญญาณที่อาศัยเสียง
จักไม่มีแก่เรา.
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกลิ่น และวิญญาณที่อาศัยกลิ่น
จักไม่มีแก่เรา.
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นรส และวิญญาณที่อาศัยรส
จักไม่มีแก่เรา.
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโผฏฐัพพะ และวิญญาณที่
อาศัยโผฏฐัพพะจักไม่มีแก่เรา.
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นธรรมารมณ์ และวิญญาณที่
อาศัยธรรมารมณ์จักไม่มีแก่เรา.
ดูก่อนคฤหบดี พ่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด.
[729] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
เราจักไม่ยึดมั่นจักษุวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยจักษุวิญญาณจักไม่มีแก่เรา.
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสตวิญญาณ และวิญญาณที่
อาศัยโสตวิญญาณจักไม่มีแก่เรา.